ขนาดของรูปคอนเทนต์ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสอย่าง 1:1 หรือ 4:3, 3:2 ซึ่งถ้าเราเอาภาพถ่ายมาครอปทีหลัง จะทำให้องค์ประกอบบางส่วนหายไป ดังนั้น เพื่อให้ภาพออกมาเหมือนที่เราต้องการ เราควรเลือกสัดส่วนที่เหมาะสมก่อนถ่ายภาพ
ปัญหาที่มักพบกับการถ่ายรูปด้วยมือถือคือ ภาพเบลอ กล้องไม่โฟกัส วิธีแก้ปัญหาง่ายๆ คือการใช้นิ้วแตะเพื่อปรับโฟกัส นอกจากจะทำให้ภาพไม่เบลอ ยังทำให้ภาพมีมิติมากขึ้นอีกด้วย
เส้นนำสายตาคือสิ่งที่จะช่วยดึงดูดจุดสนใจของเรา ซึ่งเส้นนำสายตาอาจจะเป็นเส้นถนน แม่น้ำ ทางเดิน หรือรางรถไฟ ไม่ว่าจะเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง เส้นทแยง แนวตั้ง แนวนอนหรือเส้นรูปแบบใดก็ได้แต่ขอให้รูปร่างออกมาเป็นเส้นเพื่อใช้ดึงสายตาให้ภาพน่ามอง การใช้เทคนิคนี่จะทำให้ภาพดูเป็นธรรมชาติที่สุด และทำให้ภาพของเราดูมีมิติ และทำให้คอนเทนต์ดูน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย
การสร้างกรอบในภาพเป็นอีกวิธีที่จะสร้างจุดเด่นให้กับภาพที่ใช้สมาร์ทโฟนถ่ายได้ เช่นการถ่ายบริเวณกรอบประตู หน้าต่าง กรอบรูปในแกลลอรี่ หรือเลือกฉากหลังเป็นลักษณะเป็นกรอบก็ได้ จะทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นอีกแบบ
ก่อนกดถ่ายรูปเราต้องนิ่งให้มากที่สุดเพื่อไม่ให้ภาพที่ถ่ายออกมาเบลอ หรือเราอาจจะกลั้นหายใจก่อนกดถ่าย เพื่อให้ร่างกายขยับน้อยที่สุด ทำให้เราสามารถถ่ายภาพในสภาวะที่ภาพสั่นได้ดีขึ้น
การถ่ายรูปอาหารนั้นให้ถ่ายในที่แสงธรรมชาติจะดีที่สุด และภาพพื้นหลังควรใช้ผ้าสีพื้นหรือสีขาว จากนั้นนำสิ่งของที่เกี่ยวกับอาหารที่เราจะถ่ายมาเป็นพร้อมจะทำให้ภาพดูมีมิติมากขึ้น และมุมมองที่ถ่ายให้ได้สวยที่สุดนั้นก็คือ Top View
สำหรับจุดตัด 9 ช่องนี่เป็นเคล็ดลับที่พบเจอได้บ่อยที่สุด เพราะนี่จะเป็นตัวช่วยในการจัดองค์ประกอบรูปภาพได้ดีทีเดียวเลย เพียงวางจุดตัดจุดใดจุดหนึ่งให้ภาพตรงกับแบบหรือสิ่งที่เราจะใช้สื่อ แค่นี้ก็ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจ รวมถึงสร้างเรื่องราวได้ด้วย
ใครๆ ก็มีแอปแต่งภาพในมือถือทั้งนั้น สำหรับการถ่ายภาพใช้งานในการทำคอนเทนต์ แอปแต่งภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยแอปที่ว่านี่จะสามารถแต่งแสง ความคมชัด ความสว่าง ฯลฯ ได้อย่างละเอียด และทำให้ทุกรูปของเราจะมีโทนภาพออกมาคล้ายกันได้ เช่น Snapseed , VSCO หรือ Lightroom